เมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

  

 

ครู-อาจารย์ ประจำสาขาวิชา เมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

1. นายสรวิชญ์ชัย ว่องรัตนานุกุล หัวหน้าแผนกวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
2. นายณัฐพล แช่มประเสริฐ ครูประจำแผนก


ขอบเขตสาขาวิชา (Areas of activity and working conditions)

  • มีทักษะระดับฝีมือ และเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคจากการใช้คู่มือ ตามมาตรฐาน การทํางาน แบบสั่งงาน แบบไฟฟ้าและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อควบคุมคุณภาพของผลงาน
  • มีความสามารถในการใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง ภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชา
  • มีทักษะฝีมือในการ ปฏิบัติงานที่ถูกกําหนดไว้แล้ว สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบเป็นประจํา โดยประยุกต์ใช้ข้อเท็จจริง เครื่องมือ และข้อมูลพื้นฐานภายใต้การควบคุมแนะนําของผู้บังคับบัญชา มีความรู้ในการเขียน อ่าน พูด คํานวณ ขั้นพื้นฐาน
  • มีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทาง และเทคนิคในการปฏิบัติงาน กระบวนการคิดและปฏิบัติ ที่หลากหลาย สามารถแก้ปัญหาทางเทคนิคควบคู่กับการใช้คู่มือและข้อมูล ที่เกี่ยวข้องภายใต้การแนะแนว ของผู้บังคับบัญชา ความเข้าใจในหลักการ วิธีการในสาขาวิชาชีพเฉพาะ หลักการความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ในภาษาต่างประเทศที่ใช้ในการประกอบอาชีพ
  • บุคคลที่ประกอบอาชีพในสาขาวิชานี้ ทํางานในส่วน ช่างติดตั้ง ช่างควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ช่างควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์ ช่างซ่อมบํารุง ในด้านเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ โดยมีทักษะระดับฝีมือเฉพาะทาง และเทคนิคในการปฏิบัติงาน การเชื่อมโยงความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ มีทักษะด้านการใช้สารสนเทศเพื่อควบคุมคุณภาพของ ผลงาน มีส่วนร่วมในการประสานงานกลุ่ม มีคุณธรรม จริยธรรม มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความคิดริเริ่มสิ่งใหม่ และสามารถปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมาย


อาชีพในตําแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีพ (Career)

  • ช่างเมคคาทรอนิกส์ ช่างควบคุมหุ่นยนต์ ช่างควบคุมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรม ช่างควบคุมด้วยโปรแกรมเมเบิลคอนโทรลเลอร์
  • ช่างซ่อมบํารุงด้านเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ช่างติดตั้งระบบหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ช่างเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
  • พนักงานขายสินค้าและ บริการหลังการขายที่เกี่ยวข้องกับระบบเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์
  • ผู้ช่วยนักวิจัยและพัฒนาด้านเมคคาทรอนิกส์ และหุ่นยนต์
  • ผู้ประกอบการด้านเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ และการประกอบอาชีพอิสระ

ปวส. เมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ (อากาศยานไร้คนขับ Drone) มีการเรียนการสอนในรูปแบบ Co-Certificate จบแล้วได้ 2 วุฒิการศึกษา คือ 

  1. วุฒิ ปวส.ของไทย (วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม) สาขาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ 
  2. และวุฒิ ปวส.ของจีน (ฝูโจว โปลีเทคนิค) สาขาอากาศยานไร้คนขับ Drone